เข้าชม 95 ครั้ง
ปรับปรุงครั้งที่ / (วันที่ 5 ต.ค. 66 )
นำมาใช้งาน พ.ศ. 2565
ครอบคลุมใช้ในกระบวนการที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
ผู้พัฒนา : ์NSO
เบอร์โทร : 095-1393355
อีเมล์ : [email protected]
พัฒนาระบบจัดการข้อมูล สื่อสารถูกต้อง รวดเร็ว ปลอดภัย ใช้บาร์โค้ด (Development the system of data management using barcode to communicate with more accurate)
ถูกต้อง : ข้อมูลพื้นฐานถูกต้อง ระบุตัวถูกคน รวดเร็ว : วิเคราะห์ ประมวลผลส่งต่อข้อมูลให้ผู้รับผลงานได้รวดเร็ว ทันเวลา แบบ Real time ปลอดภัย : ลดความเสี่ยงต่อการสัมผัสผู้ป่วย ผู้ปฏิบัติงานมีความปลอดภัย
คุณสมบัติ
การพัฒนากิจกรรมการสื่อสารส่งต่อข้อมูล โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้ในการเชื่อมข้อมูลของทหารกองประจำการที่เข้าสู่ระบบการฝึกทหารใหม่ทั้งหมด ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐานเช่น ชื่อ สกุล อายุ เลขประจำตัวประชาชน ข้อมูลการคัดกรองเพื่อแยกกลุ่มเสี่ยงต่อโรคโควิด 19 ตลอดจนกระบวนการสุดท้ายในการสรุปยอดเพื่อรายงานผลได้เป็นแบบ Real time ลดการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อน และทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ ถูกต้องถูกคน ป้องกันการระบุตัวผิดพลาด แยกคนที่มีเชื้อโรคหรือสัมผัสเชื้อโรคสูงออกจากคนที่มีโอกาสสัมผัสน้อย ส่งผลให้ได้รับการดูแลต่อเนื่องที่หน่วยทหารถูกต้อง ชุมชนทหารปลอดภัยจากโรคระบาด แนวคิดที่นำมาใช้คือ 3 P Patient/Personel/People & Public การสร้างความปลอดภัยแก่ผู้ป่วยโดยการ คัดกรอง คัดแยก ส่งต่อข้อมูล ระบุตัวผู้ป่วยถูกคนถูกต้อง ความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานโดยลดการสัมผัสกับกลุ่มผู้ป่วย ความปลอดภัยของสังคม(ชุมชนทหาร) โดยการคัดกรอง ค้นหา และแยกกลุ่มป่วย/กลุ่มเสี่ยงสูง/กลุ่มเสี่ยงต่ำ เพื่อดำเนินการตามมาตรการในแต่ละกลุ่มต่อไป และสามารถรวบรวมข้อมูลชุมชนเพื่อการติดตามเฝ้าระวังต่อไปได้อย่างครบถ้วน ส่งผลให้สามารถป้องกันและควบคุมการระบาดในชุมชนทหารได้
คุณลักษณะ
กิจกรรมพัฒนา (Process)
1. ประชุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ทีมการรักษา ทีมสนับสนุน และตัวแทนหน่วยทหารเพื่อรับทราบความต้องการและข้อจำกัดในการปฏิบัติงาน
2. นำแนวคิด Lean และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการออกแบบกิจกรรมการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วย ผ่านการสแกนบาร์โค้ด เพื่อให้การระบุตัวผู้ป่วยถูกต้อง ข้อมูลผู้ป่วยครบถ้วน (ชื่อ สกุล อายุ เลขประจำตัวประชาชน) ถูกต้อง ประมวลผลการคัดกรองรวดเร็ว
3. สร้างการเชื่อมโยงฐานข้อมูลในระบบตั้งแต่ข้อมูลส่วนบุคคล สังกัด และรายละเอียดการคัดกรองความเสี่ยงต่อการสัมผัสโรค ตามแบบคัดกลุ่มเสี่ยงต่อโรคกรองโควิด-19 เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการเฝ้าระวังและใช้สำหรับการตรวจคัดกรองในครั้งต่อไป
4. ใช้ข้อมูลที่ได้ในการส่งต่อ ระหว่างทีมผู้ปฏิบัติงาน ระหว่าง รพ.และหน่วยทหาร ตลอดจนใช้ข้อมูลในการติดตามกลุ่มเสี่ยงจนครบระยะเวลาตามแนวทางที่กำหนดไว้
การประเมินผลการเปลี่ยนแปลง (Performance)
กิจกรรมดังกล่าวทำให้โรงพยาบาลดำเนินการตามกระบวนการรับทหารกองประจำการได้อย่างรวดเร็ว ถูกคน ถูกต้อง และส่งต่อข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19
กิจกรรมต่อผู้รับบริการ 1 คน
กิจกรรม |
ก่อนการพัฒนา |
หลังการพัฒนา |
1. ระยะเวลาขั้นตอนการรับทหารใหม่ จนเสร็จสิ้นกระบวนการ (กิจกรรมต่อผู้รับบริการ 1 คน) |
30 - 40 นาที |
20 นาที |
2. จำนวนผู้ปฏิบัติงาน |
6 นาย |
4 นาย |
3. ข้อมูลได้รับการส่งต่อถูกต้อง ครบถ้วน |
91.81% |
100 % |
4. การประมวลผล/สรุปผล |
หลังเสร็จสิ้นกระบวนการ (12 ชม.) |
ทันที |
จากการใช้งานนวัตกรรมดังกล่าวสามารถทำให้ลดระยะเวลาการปฏิบัติงาน ลดผู้ปฏิบัติงาน มีระบบการจัดการข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ทำให้การระบุตัวผู้ป่วยไม่ผิดพลาด ได้ผลงานที่ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ ในทหารกองประจำการผลัดที่ 2/65 จำนวน 1,532 นาย หน่วยทหารได้รับการส่งต่อข้อมูลที่ถูกต้อง สามารถให้การดูแล และติดตามอย่างต่อเนื่องตามกลุ่มเสี่ยง ลดการแพร่กระจายเชื้อในชุมชนทหาร และไม่พบบุคลากรติดเชื้อจากการปฏิบัติงาน รวมถึงสามารถลดภาระงานของผู้ปฏิบัติงานอีกด้วย
ข้อมูลอื่น ๆ
การพัฒนาผลงาน
- สามารถต่อยอดโดยเชื่อมต่อข้อมูลการคัดกรอง ณ จุดปฏิบัติงานรับทหารใหม่ กับระบบฐานข้อมูลของโรงพยาบาล เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้ารับการรักษา
- สามารถต่อยอด ณ หน่วยฝึกทหารใหม่ สามารถใช้ข้อมูลที่ได้จากการคัดกรองแรกรับ เพื่อใช้ในการคัดกรองโรคระบาดต่างๆ ในหน่วยทหารได้อย่างรวดเร็วและส่งผลให้หน่วยเวชกรรมป้องกันและส่งเสริมสุขภาพของรพ.สามารถได้รับข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และวางแผนเพื่อให้การดูแล รักษา และป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ
บทเรียนที่ได้รับ : เขียนบทเรียนที่ได้รับในลักษณะของ bullet ในประเด็นต่อไปนี้
ปัญหาหรือความท้าทายที่เกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินการโครงการ และวิธีการจัดการกับความท้าทายเหล่านั้น
- จากการปฏิบัติงานพบว่า ผู้ปฏิบัติงานมุ่งหวังให้กระบวนการทำงานเสร็จสิ้นสมบูรณ์อย่างรวดเร็ว ตามวัตถุประสงค์ ผู้รับผลงานได้แก่หน่วยฝึกทหารใหม่ต้องการการส่งต่อข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน และผู้บังคับบัญชาต้องการทราบผลการประมวลข้อมูลที่รวดเร็ว ทำให้การปฏิบัติงานเต็มไปด้วยความท้าทายทั้งเวลา และความถูกต้อง จึงนำมาสู่การวางแผนร่วมกันกับผู้รับผลงาน นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อจัดการระบบ เชื่อมโยงฐานข้อมูล แปลผลได้รวดเร็ว ถูกต้อง
ในขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมพบปัญหาและได้ดำเนินการดังนี้
- ขั้นตอนการ Register โดยใช้บัตรประจำตัวประชาชนเสียบเข้ากับเครื่องเพื่อยืนยันตัวตน บางรายไม่ได้นำบัตรมาด้วย สามารถแก้ไขโดยการคีย์เลขประจำตัวผ่านระบบ Manual
- ข้อมูลในใบสติกเกอร์บาร์โค้ดประจำตัวทหาร ขาดข้อมูลชื่อ สามารถแก้ไขโดยการ Register ใหม่ โดยใช้บัตรประจำตัวประชาชน