เข้าชม 118 ครั้ง


ปรับปรุงครั้งที่ / (วันที่ 5 ก.พ. 67 )


นำมาใช้งาน พ.ศ. 2566


การใช้งาน 1 ครั้ง ต่อ เดือน


ครอบคลุมใช้ในกระบวนการที่เกี่ยวข้องทั้งหมด


ผู้พัฒนา : พ.ต.หญิง ปรารถนา ยอดวิจารย์
เบอร์โทร : 0953961945
อีเมล์ : [email protected]


นวัตกรรมการรักษาอุณหภูมิของสารน้ำในผู้ป่วยบาดเจ็บจากความร้อน

คุณสมบัติ


เนื่องด้วยโรงพยาบาลค่ายกาวิละมีภาระกิจในการดูแลกำลังพลที่เป็นทหารจำนวนมาก ทั้งยังมีการฝึกอยู่เป็นประจำ ทำให้มีทหารที่เกิดการเจ็บป่วยจากความร้อนเข้ามารับการรักษา ซึ่งจากการที่บุคลากรทางการพยาบาลได้มีการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ห้องฉุกเฉินนั้น พบว่า มีการเปลี่ยนขวดสารน้ำที่ให้กับผู้ป่วยบ่อยครั้งเนื่องจากอุณหภูมิสารน้ำเปลี่ยนแปลงเมื่ออยู่นอกตู้เย็น  (อุณหภูมิมากกว่า ๔ องศา)   ทำให้เพิ่มภาระงานในการดูแลผู้ป่วย

ซึ่งตามแนวทางการรักษาผู้ป่วยที่เจ็บป่วยจากความร้อน การลดอุณหภูมิกายอย่างรวดเร็วเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของการรักษาผู้ที่เจ็บป่วยจากความร้อน การดูแลรักษาโดยการลดอุณหภูมิต่อเนื่องให้ได้ตามเป้าหมายก่อนการส่งต่อก็มีความสำคัญยิ่งเพื่อไม่ให้เกิดการ re-heat โดยเฉพาะช่วง 24 ชั่วโมงแรกการให้cold NSS เป็นหนึ่งในวิธีลดความร้อนของร่างกายที่สำคัญร่วมกับวิธีอื่น ดังนั้น ทางโรงพยาบาลค่ายกาวิละจึงร่วมกันระดมความคิดหาวิธีการในการคงสภาพอุณหภูมิน้ำเกลือที่ 4°c ให้ได้ต่อเนื่องหรือยาวนานที่สุดก่อนการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของสารน้ำ ในอดีตเคยมีการศึกษาMethod of cold saline storage for prehospital induced hypothermia (อ้างอิงการศึกษาในPrehospEmerg Care. 2009 Jan-Mar;13(1):81-4. Doi:10.1080/10903120802471956.)
พบว่าการเก็บ 4°c NSS ที่สถานการณ์                                                      

  1. อุณหภูมิห้อง (25°c) จะคงสภาพน้ำเกลือ 4°c ได้นาน 1 ชั่วโมง 21 นาที
  2. อุณหภูมิห้องร่วมกับice packs จะคงสภาพน้ำเกลือ 4°c ได้นานเฉลี่ย 29 ชั่วโมง 53 นาที
  3. สภาพอากาศร้อน 50°c ร่วมกับice packs จะคงสภาพน้ำเกลือ 4°c ได้นานเฉลี่ย

10 ชั่วโมง 50 นาที ผจากทั้งสามสถานการณ์พบว่าการใช้ice packs ช่วยในการเก็บน้ำเกลือคงสภาพน้ำเกลืออุณหภูมิ 4°c ได้นานกว่าอย่างมีนัยสำคัญ (log-rank=17.90, df=2,p=0.0001) ด้วยการทบทวนข้อมูลทางงานวิจัยนานาชาติในอดีตดังกล่าวจึงเป็นที่มาของนวัตกรรมการรักษาอุณหภูมิของสารน้ำในผู้ป่วยบาดเจ็บจากความร้อนโรงพยาบาลค่ายกาวิละ

 

 

คุณลักษณะ


เพื่อให้ทราบถึงขอบเขตการใช้งานทางโรงพยาบาลค่ายกาวิละจึงได้เก็บข้อมูลอุณหภูมิของน้ำเกลือเมื่อใช้ ice pack ร่วมกับน้ำเกลือหลังออกจากตู้เย็น เปรียบเทียบอุณหภูมิกับน้ำเกลือที่ไม่มี ice pack หลังออกจากตู้เย็น ณ อุณหภูมิห้องโดยเก็บอุณหภูมิของน้ำเกลือทุก 15 นาทีจนผ่านไป ๕ชั่วโมงจากรูปประกอบภาพที่ 1จะพบว่าที่อุณหภูมิห้องประมาณ 20-25°c อุณหภูมิน้ำเกลือขวดที่ไม่มี cold pack เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงของอุณภูมิตั้งแต่ ๓๐นาทีแรก โดยมีอุณหภูมิ1๑.๘°c และที่ 2 ชั่วโมง มีอุณหภูมิของน้ำเกลือ ๑๘.๓°cเมื่อเทียบกับกลุ่มที่มี ice pack พบว่าตลอดทุกช่วงเวลาจนถึง 3 ชั่วโมง สามารถคงสภาพอุณหภูมิของน้ำเกลือได้อยู่ที่4-5°cและที่เวลา 4 ชั่วโมงหลังจากเริ่มการทดลอง พบว่า อุณหภูมิของน้ำเกลือกลุ่มที่มี ice pack มีอุณหภูมิ 5.9°c

ข้อมูลอื่น ๆ


การนำไปใช้งาน

- หน่วยงานทางการแพทย์ของเหล่าทัพ

- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นำไปใช้ในกรณีการดูแลผู้ป่วยเจ็บป่วยด้วยความร้อน หรือผู้ป่วยอื่นๆที่ต้องมีการใช้ Cold NSS

- หน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหม

- กระทรวงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โรงพยาบาลในสังกัดกองทัพต่างๆหรือสนง.ตำรวจแห่งชาติ ที่มีการฝึกประเภทต่างๆ สามารถนำแนวคิดนี้ไปปรับปรุงพัฒนาได้ และกระทรวงสาธารณะสุข สามารถนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยจากความร้อน หรือผู้ป่วยประเภทอื่นๆที่ต้องได้รับ Cold NSS เพื่อเพิ่มความปลอดภัยได้เช่นเดียวกัน

- ภาคเอกชน/การผลิตใช้ใน โรงพยาบาลเอกชน ในภารกิจที่ให้บริการกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยจากความร้อนได้

เนื่องจากการเจ็บป่วยจากความร้อน หรือโรคลมร้อน เป็นภารกิจที่สำคัญของโรงพยาบาล ที่ต้องดำเนินการให้ผู้ป่วยเกิดความปลอดภัยสูงสุด การพัฒนาการรักษาด้วยการลดอุณหภูมิอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องจึงมีความสำคัญเพราะส่งผลต่อการเสียชีวิตหรือทุพพลภาพได้อย่างมีนัยสำคัญ นวัตกรรม 4°ccold NSS with ice packมีประโยชน์ในการคงสภาพความเย็นของสารน้ำ ซึ่งมีความสำคัญในการลดอุณหภูมิกายร่วมกับวิธีอื่นๆตามแนวทางการรักษาที่กำหนดไว้ ทั้งที่ห้องฉุกเฉินรถพยาบาล-EMS และ หอผู้ป่วยของโรงพยาบาลต่างๆทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงกลาโหม สามารถนำไปพัฒนาในการใช้ในโรงพยาบาลสาธารณะสุข และ ภาคเอกชนที่มีโอกาสพบผู้ป่วยที่เจ็บป่วยจากความร้อนซึ่งปัจจุบันมีโอกาสเกิดได้ง่ายขึ้นจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งลักษณะการจัดกิจกรรมกลางแจ้งต่างๆ เช่นการวิ่งมาราธอน และการแข่งขันกีฬาต่างๆ รวมทั้งพฤติกรรมของคนในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลง

ลักษณะเด่นของสิ่งประดิษฐ์

(๑) มีการศึกษาข้อมูลทางวิชาการมาประกอบ นำข้อมูลที่ได้มาทดลองด้วยการวัดอุณหภูมิสารน้ำทั้งสองกลุ่มเปรียบเทียบอุณหภูมิ มีผลการทดลองชัดเจน สร้างความมั่นใจในการนำไปใช้ในการคงสภาพความเย็นของสารน้ำเพื่อดูแลรักษาผู้ป่วยที่เจ็บป่วยจากความร้อนได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพมากขึ้น

(๒)วัสดุที่ใช้ประดิษฐ์เป็นวัสดุพื้นฐานที่ราคาไม่แพง และหาได้จากของใกล้ตัวรวมทั้งยังเป็นของเหลือใช้ในโรงพยาบาล

(๓) การออกแบบนวัตกรรมสะดวกต่อการใช้งาน เป็นการให้สารน้ำตามหลักการเดิม นอกจากนี้ขวดสารน้ำฝั่งที่ไม่มี ice pack ยังสามารถติดสติ๊กเกอร์ที่ระบุชนิดของสารน้ำ ระบุตัวผู้ป่วย ระบุปริมาณที่ใช้  และเห็นชนิดของสารน้ำได้อย่างชัดเจน เป็นไปตามหลัก 3 PSafety เพื่อความปลอดภัยให้ผู้ป่วยอีกด้วย

ประโยชน์ที่ได้รับ/ความคุ้มค่า

  • นำเวชภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์ ที่มีใช้ เหลือใช้ และหาได้ง่ายมาเพิ่มประโยชน์ในการดูแลรักษาผู้ป่วย ราคาไม่แพง ใช้วัสดุพื้นฐาน ทำใช้ได้ง่ายในแต่ละหน่วยงาน
  • เป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยมีข้อมูลอ้างอิงจากผลการทดลอง สามารถนำไปปรับปรุงพัฒนาต่อยอดผลงานได้ง่าย
  • ใช้งานได้สะดวก รวดเร็ว เนื่องจากมีการทำ ice pack ให้เข้ารูปพอดีกับขวดน้ำเกลือเตรียมไว้ในสภาพพร้อมใช้งานได้ทันที
  • สามารถคงสภาพความเย็นของ4°c Cold NSS ได้นานประมาณ3 ชั่วโมง ทำให้ ทีมการรักษา สามารถออกแบบกระบวนการดูแลได้โดยที่ไม่ต้องเปลี่ยนขวดน้ำเกลือบ่อยเกินความจำเป็น ไม่เพิ่มภาระงาน ทำให้การดูแลรักษาผู้ป่วยจากความร้อนเป็นไปด้วยความราบรื่นและมีประสิทธิภาพขึ้น

เนื่องจากโรงพยาบาลเกิน 70 % ไม่มีห้องไอซียู จึงจำเป็นต้องส่งต่อผู้ป่วยที่เจ็บป่วยจากความร้อนไปรพ.ศักยภาพสูงกว่า ผลงานนี้ช่วยลดอันตรายขณะส่งต่อผู้ป่วยจากความร้อน ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดอุณหภูมิกายเปลี่ยนแปลงหรือ re- heat ขณะส่งต่อเป็นการลดการเสียชีวิต และการเกิดภาวะทุพพลภาพของผู้ป่วย